วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนที่ 8
1.1 การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบการนำเสนออาจมีความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่ง  หรืออาจหลายอย่างเพื่อให้เกิดความเข้าใจ  เพื่อโน้มน้าวใจ  เพื่อให้พิจารณาผลงาน  เพื่อให้เห็นด้วย  ให้การสนับสนุน  หรืออนุมัติ
1.2 หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ การนำเสนอจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการ  ดังนี้
1.ต้องก่อประโยชน์ทั้งต่อฝ่ายผู้นำเสนอและผู้รับการนำเสนอ
2.ต้องคำนึงถึงผู้รับการนำเสนอเป็นหลัก
3.ต้องมีจุดมุ่งหมายที่มีความเป็นไปได้
4.ต้องไม่กำหนดจุดมุ่งหมายมากหลากหลายจนคลุมเครือ
5.ต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์

1.3 การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
ตอบ 1. การบรรยายสด เหมาะสำหรับการประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม เพราะผู้บรรยายในกรณีนี้เป็นผู้ที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดีรู้ว่าควรจะเน้นตรงจุดใดและปฏิกิริยาจากผู้ชมทำให้ผู้บรรยายรู้ว่าผู้ชมสามารถติดตามทำความเข้าใจได้เพียงพอหรือไม่รู้ว่าส่วนไหนจะต้องอธิบายขยายความมากน้อยเพียงใด
2. การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม ข้อดีคือสามารถเลือกใช้เสียงพากย์ที่มีความไพเราะน่าฟัง สามารถเลือกใช้ดนตรี หรือเสียงประกอบ (Sound effect) เพื่อสร้างบรรยากาศ แต่ข้อเสียคือไม่มีความยืดหยุ่น ไม่สามารถปรับให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น

1.4 เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ1. โพรเจกเตอร์ (Projector) เป็นอุปกรณ์ฉายภาพที่ใช้ในการนำเสนอ โดยสามารถรองรับสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นวีซีดี เครื่องเล่นดีวีดี และเครื่องกำเนิดภาพอื่น ๆ แล้วแสดงผล ขยายขนาดบนจอรับภาพช่วยให้มองเห็นได้ไกลขึ้น เหมาะสำหรับการนำเสนอข้อมูลในห้องประชุม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถมองเห็นภาพหรือข้อความได้อย่างชัดเจน
2. วิชวลไลเซอร์ (Visualizer) เป็นอุปกรณ์ฉายภาพระบบดิจิทัลประเภทหนึ่ง ซึ่งพัฒนามาจากโอเวอร์เฮดหรือเครื่องฉายข้ามศีรษะ ใช้แสดงภาพวัตถุและเอกสารสู่จอรับภาพที่มีอยู่จริงได้เลย โดยไม่ต้องดัดแปลง อุปกรณ์นี้เหมาะสำหรับใช้ในการนำเสนองานต่าง ๆ โดยเฉพาะครู-อาจารย์ที่สอนหนังสือ และใช้ได้ดีในการนำเสนอภาพนิ่งมากกว่าภาพเคลื่อนไหว แต่ภาพที่แสดงออกมานั้นก็ให้ความคมชัด มีสีสดใส และมีโหมดของการแสดงภาพให้ปรับการทำงานด้วย การควบคุมการทำงานสามารถทำได้โดยใช้รีโมต
3. กล้องถ่ายรูปดิจิทัล (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับภาพที่เปลี่ยนจากฟิล์มมาเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเมื่อถ่ายรูปที่ต้องการแล้ว รูปจะถูกเก็บลงในหน่วยความจำ (memory) ที่อยู่ในกล้อง เมื่อต้องการดูรูปทำได้โดยการถ่ายข้อมูลจากหน่วยความจำลงบนเครื่องพิมพ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาพที่ได้จะมีขนาดตามที่ต้องการ สามารถย่อหรือขยาย ปรับแสงหรือเงาแล้วแต่ความพอใจหรือจะเพิ่มรูปแบบก็สามารถทำได้ และเมื่อจะถ่ายใหม่ ก็สามารถใช้หน่วยความจำเดิมได้เลย โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อฟิล์ม
4. กล้องถ่ายวีดิทัศน์ดิจิทัล เป็นอุปกรณ์รับภาพที่บันทึกข้อมูล ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เก็บไว้ในหน่วยความจำแบบแฟลชภายในกล้อง สามารถย่อหรือขยาย ปรับแสงเงาของภาพได้ และในปัจจุบันสามารถคัดลอกข้อมูลลงในแผ่นดีวีดีได้เลย โดยไม่ต้องโอนลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
5. คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์ขนาดสมุดบันทึกหรือโน้ตบุ๊ก เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สร้างงานนำเสนอ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น โพรเจกเตอร์ เพื่อนำเสนองาน และใช้นำเสนองานผ่านจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์
6. เครื่องเล่นเสียง หรือเครื่องเล่นเอ็มพีสาม (MP3) เป็นอุปกรณ์ซึ่งบรรจุข้อมูลเสียงที่ใช้เล่นในคอมพิวเตอร์และสามารถถ่ายโอนข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ โดยข้อมูลเสียงนั้นใช้เทคโนโลยีบีบอัดให้มีขนาดเล็กลงมากกว่าข้อมูลเสียงปกติถึง 12 เท่า แม้ขนาดข้อมูลจะเล็กลง แต่คุณภาพเสียงไม่ได้เสียไป อย่างไรก็ตาม หากเรานำข้อมูลเสียงจากเครื่องเล่น MP3 ไปเล่นในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า จะได้เสียงในลักษณะกระตุกหรือใช้การไม่ได้เลย
7. โทรศัพท์เคลื่อนที่บางรุ่น เป็นอุปกรณ์ตัวกลางที่ผู้ใช้สามารถนำเสนองานที่สร้างด้วยซอฟต์แวร์ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ผ่านเครื่องโพรเจกเตอร์ได้สะดวก ง่ายต่อการติดตั้ง เพียงเชื่อมต่อโพรเจกเตอร์เข้ากับโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านสายเคเบิล แล้วเชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยบลูทูธ

1.5 รูปเเบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ 1.  การนำเสนอแบบ Web page เป็นรูปแบบการนำเสนอที่ใช้บนอินเทอร์เน็ต การนำเสนอแบบนี้สามารถสร้างการเชื่อมโยงที่สลับซับซ้อนระหว่างส่วนต่าง ๆ ตลอดจน สามารถสร้างการเชื่อมโยงเอกสารที่ต่างรูปแบบกันได้แต่ต้องใช้เวลาในการจัดทำมากกว่า รูปแบบอื่นและผู้จัดทำต้องมีความรู้ความชำนาญในโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บเพจ
2.  การนำเสนอแบบ Slide Presentation เป็นการนำเสนอโดยใช้โปรแกรมนำเสนอ ซึ่งเป็นโปรแกรม ที่ใช้ง่ายมากมีรูปแบบการนำเสนอให้เลือกใช้หลายแบบ สามารถเรียกใช้ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพประกอบ และตกแต่งด้วยสีสัน ทั้งสีพื้น สีของตัวอักษร รูปแบบฟอนต์ ของตัวอักษรได้ง่ายและสะดวก ในปัจจุบัน
สื่อนำเสนอรูปแบบ Slide Presentationหรือ สไลด์ดิจิทัล มักจะสร้างด้วยโปรแกรมในกลุ่ม Presentation เช่น Microsoft PowerPoint, OfficeTLE Impress เทคนิคการออกแบบสื่อนำเสนอ สื่อนำเสนอที่ดี ความมีความโดดเด่น น่าสนใจ จะเน้นความคิด “ หนึ่งสไลด์ต่อ หนึ่งความคิด ” มีการสรุปประเด็น
แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนที่ 7
1.จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์เเบบต่างๆ ว่ามีกี่ประเภท
ตอบมี 3 ประเภท   ที่สร้างขึนเพื่อวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูล   ดังนี้
1.อินทราเน็ต
2.เอกซ์ทราเน็ต
3อินเทอร์เน็ต.

2.อินทราเน็ต(Intranet) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ เป็นเครือข่ายภายในสำหรับองค์กรหนึ่งๆ  ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร   หรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ขององค์กร
3.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลจากเว็ปไซต์ Google พอสังเขป
ตอบ ใช้วิธีการที่เรียกว่า  เซิร์จเอ็นจิน  (Search  Engine)  ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลอัตโนมัติ  การค้นหาทำได้โดยการพิมพ์คำสำคัญ  หรือคีเวิร์ด  เข้าไปในช่องที่กำหนด  แล้วคลิกที่ปุ่ม SEARCH  หรือ GO  โปรแกรมจะเริ่มทำงาน
4.Digital library หมายความว่าอย่างไร
ตอบหมายถึง   (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์)   การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์
แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์

5.จงยกตัวอย่างเเหล่งข้อมูลเว็ปไซต์ประเภทของการศึกษา
ตอบ 1.เว็บไซต์โครงการ  SchoolInet@ 1509
       2.เว็บไซต์  LearnOnline
แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียน บทที่6
1.อินเตอร์เน็ต(Internet)หมายความว่าอย่างไร
ตอบหมายถึงเครือข่ายนานาชาติหรือเครือข่ายสากล คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
2.จงอธิบายความสำคัญของอินเตอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
 ตอบ1.สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล
        2.ทำหน้าที่เปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่
        3.นักศึกษาสามารถใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อกับมหาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆเพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้
3.จงบอกประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ 1.ใช้เเลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สะดวกเเละรวดเร็ว
2.ใช้สืบค้นข้อมูลจากเเหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้
3.ใช้เเลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบ
4.สามรถส่งข้อมูลได้หลายรูปเเบบ
5.ให้ความบันเทิงรูปเเบบต่างๆ เช่น การฟังเพลง เล่นเกมส์ เป็นต้น
6.ใช้สื่อสารด้วยข้อความซึ่งเป็นการพูดคุยระหว่างใช้อินเตอร์เน็ต โดยใช้การพิมพ์ข้อมูล
4.การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem  หมายความว่าอย่างไร
ตอบ อุปกรณ์แปลงสัณญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัณญาณโทรศัพท์และแปลงโทรศัพท์ให้เป็นสัณญาณคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เเปลงสัณญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์เป็นสัณญาณแอนาล็อกผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง เเละขณะเดียวกันยังสามารถเเปลงสีณญาณแอนาล็อกกลับเป็นสัณญาณดิจิทัลได้
5.ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ เป็นบริการระบบข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกแห่งในโลกข้อมูลเหล่านี้เชื่อมโยงกันเป็นระบบสามารถสืบค้นได้ง่าย
6.จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ Email
ตอบ 1.สะดวกในการนำข้อมูลใช้
        2.ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
        3.ประหยัดใช้จ่ายขององค์การ
        4.ประชาสัมพันธ์องค์การให้หน่วยงานอื่นได้ทราบ
 
แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่5

1.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  หมายความว่าอย่างไร
ตอบ : สำนักงานหรือองค์กรนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นเริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์หลายรูปแบบ  เพื่อลดความ
ซ่ำซ้อนของข้อมูลและสะดวกในการใช้งานการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำงานเข้าหากัน

2.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ : ทำให้เกิดการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วขึ้น  ทำให้คอมพิวเตอร์หลายเครื่องที่ต่อเชื่อมเครือข่ายกันนั้นสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างประสิทธิภาพ

3.ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  :  การเชื่อมต่อเครือข่ายให้ประโยชน์ในด้านการใช้ข้อมูลร่วมกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลเดียวกันทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันมากที่สุด  และยังให้ประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

4.ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหมายความอย่างไร
ตอบ  :  เป็นระบบใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อกันทั่วโลกผลประโยชน์และผลกระทบจึงมีกว้างไกลมาก  สิ่งที่เรารู้จักและนำมาใช้ประโยชน์ทุกวันนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น   ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งจะนำมาซึ่งสิ่งใหม่ๆ  อีกมากมาย

5.ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการหมายความว่าอย่างไร
ตอบ :  เป็นระบบเครือข่ายที่ทำให้เกิดการรวมพลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาทำงานร่วมกัน

6.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ  :  3  ประเภทใหญ่ๆ  ดังนี้
1.เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่
2.เครือข่ายแมนหรือเครือข่ายบริเวณนครหลวง
3.เครือข่ายแวนหรือเครือข่ายบริเวณกว้าง

7.รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
ตอบ :  มีองค์ประกอบหลัก 2  ส่วน  ดังนี้
1.ฮาร์แวร์หรือส่วนเครือข่ายเชิงกายภาพ
2.ซอฟต์แวร์หรือส่วนการจัดการเชิงตรรกะ

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียน บทที่4
1.ซอฟแวร์ คืออะไร และทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง (Instruction) ทีใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เพื่อให้ทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ โดยทั่วไปโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง
2.ซอฟแวร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ 2 ประเภท
ซอฟเเวร์ระบบ    ซอฟเเวร์ประยุกต์
3.ซอฟแวร์ ระบบ คืออะไร
ตอบ
ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) หมายถึง ชุดสำสั่งที่ทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ และทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์  ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็น
ระบบปฏิบัติการ (Operating System: OS) เป็น ที่หน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์และวอซอฟต์แวร์ทั้งหมดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์

โปรแกรมอรรถประโยชน์ ( utilities program ) เป็นโปรแกรมที่ช่วยเสริมการทำงานของคอมพิวเตอร์หรือช่วยโปรแกรมใช้งานอื่นๆ ให้มีความสามารถใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการข้อมูล (File manager) โปรแกรมที่ใช้ในการสำรองและเรียกคืนข้อมูล (backup and restore) โปรแกรมที่ใช้ในการบีบอัดแฟ้มข้อมูล (file compression) และโปรแกรมที่ใช้ในการจัดพื้นที่ของดิสก์                  (disk defragmenter )


4.ซอฟแวร์ ประยุกต์ คืออะไร
ตอบ เป็นโปรเเกรมที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานเฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการ เช่นงานพิมพ์เอกสาร  งานพิมพ์รายงาน วาดภาพเล่นเกมส์ หรือโปรเเกรมบัญชีรายรับรายจ่าย  เเละเงินเดือน
5.ซอฟแวร์ เฉพาะงานคืออะไร
ตอบเป็นโปรเเกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง การตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์  การจัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดิสเป็นต้น

6.ซอฟแวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ โปรแกรมที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์สำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำงานแตกต่างๆกันได้มากมาย   การที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้มากมาย   เพราะว่ามีการพัฒนาโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์เพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ตามความถูกต้องของผู้ใช้งาน



7.ซอฟแวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตอบเราใช้คอมพิวเตอร์ทำงานในการจัดการสารสนเทศเรื่องต่างๆ  ได้อย่างถูกต้องแม่นยำโดยการกำหนดวิธีการหรือขั้นตอนให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามความต้องการ  จำเป็นต้องมีสื่อกลางที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์  เราเรียกภาษาสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
8.ระบบปฏิบัติการคืออะไร ทำหน้าที่อะไร
ตอบ เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของคอมพิวเตอร์   เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ดแวร์ทุกส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ คือ  อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในลักษณะผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบกลไกการทำงานหรือฮาร์ดแวร์ของระบบ
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการมี  ดังนี้
-ติดต่อกับผู้ใช้
-ควบคุมการทำงานของโปรแกรม  และอุปกรณ์รับ/แสดงผลข้อมูล
-จัดสรรให้ใช้ทรัพยากรระบบร่วมกัน
แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนที่ 3
1.คอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร  และมีปรโยชน์อย่างไร
ตอบ : คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง  ชุดคำสั่ง หรือ
โปรแกรมต่างๆ  สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ  รวมทั้งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข  รูปภาพ
ตัวอักษร  และเสียง  ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานได้อย่างกว้างขวาง
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์  สามารถแบ่งได้ดังนี้
1.มีความเร็วในการทำงานสูง
2.มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
3.มีความถูกต้องแม่นยำตามโปรแกรมที่สั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4.เก็บข้อมูลได้มาก  ไม่ต้องใช้เอกสารและตู้เก็บ
5.สามารถโยนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว  ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน

2.คอมพิวเตอร์มีทีมาอย่างไร
ตอบ  :  เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบัน  เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องมาหลายร้อยปี  เริ่มจากการสร้างอุปกรณ์ที่ไม่มีกลไกซับซ้อน  จนกลายเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์มีศักยภาพสูงที่นำมาใช้งานในชีวิตประจำวันในขณะนี้  เพื่อนำมาช่วยงานในการคำนวณประมวลผล  และสามารถนำไปใช้ในการควบคุมการผลิตงานทางด้านอุตสาหกรรมในโรงงานต่างๆ

3.ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ  :  ส่วนสำคัญ  5  ส่วนคือ
1.หน่วยรับข้อมูลเข้า
2.หน่วยประมวลผลกลาง
3.หน่วยความจำ
4.หน่วยแสดงผล
5.อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ

4.ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร  ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร
ตอบ :  กรรมวิธีคอมพิวเตอร์ทำการใดๆ  กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานมากที่สุด
ส่วนประกอบสำคัญ  4 ส่วน  ดังนี้
1.ฮาร์ดแวร์ หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟต์แวร์ หรือส่วนชุดคำสั่ง
3.ข้อมูล
4.บุคลากร

5.ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอะไร   ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไร
ตอบ :  ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆ ที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้
จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ  4 ส่วน  ดังนี้
1.ส่วนประมวลผล
2.ส่วนความจำ
3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก
4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล

6.ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
ตอบ :  หน่วยประมวลผลกลาง  หรือเรียกคำย่อว่า  ซีพียู  (CPU)

7.หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม (RAM)และแบบรอม (ROM) ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ :  หน่วยความจำแรมเป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล   ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน   จะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
ส่วนรอมเป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์  ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นอยู่กับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร

8.จานบันทึกข้อมูล (Hard  Disk)ประกอบด้วยอะไรทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ :  ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กตั้งแต่หนึ่งแผ่นจนถึงหลายแผ่น  และเครื่องขับจาน  เป็นส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์  มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง  มีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนผิวของแผ่นดังกล่าวตามคำสั่งของโปรแกรมหรือผู้ปฏิบัติงานต้องการโดยหัวอ่านและเขียนไม่ได้สัมผัสแผ่นโดยตรงแต่เคลื่อนที่ผ่านแผ่นไปเท่านั้น

9.บอกความหมายของคำต่อไปนี้เมกะไบต์ (Megabyte) กิกะไบต์  (Gigabit)  พิกเซล (Pixel)                       จิกะเฮิร์ซ (GHz)
ตอบ  :   เมกะไบต์  คือ  หน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage)ในคอมพิวเตอร์มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์
กิกะไบต์  คือ เป็นหน่วยวัดขนาดในข้อมูลคอมพิวเตอร์  เช่น  ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิส
พิกเซล  คือ  เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ  คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือจุดภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น
จิกะเฮิร์ต  คือ  สัญญาณที่มีความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที และมีแวโน้มที่สามารถพัฒนาให้มีความเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ

10.จอภาพ  แป้นพิมพ์   และเมาส์  ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์
ตอบ  :  จอภาพ    แสดงข้อมูลผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์   สามารถแสดงผลได้ทั้งตัวหนังสือ   ภาพนิ่ง   และภาพเคลื่อนไหว   เป็นต้น





เเบบฝึกหัดท้ายหน่วบการเรียนรู้บทที่ 2

1.คำว่า  "ระบบ" และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร
ตอบ ระบบ(System) หมายถึง การทำงานขององค์ประกอบย่อยๆ อย่างมีอิสระเเต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันเเละกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของเเต่ละงาน  สามารถตรวจสอบเเละปรับปรุงเเก้ไขได้ทุกขั้นตอนจึงเป็นหัวใจสำคัญของงาน หรือดำเนินงานทุกประเภท

วิธีการเชิงระบบ (System  Approach) วิธีเชิงระบบหรือวิธีระบบคือคำๆเดียวกัน เป็นกระบวนการคิดหรือทำงานอย่างมีเเบบเเผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้านต้างๆ ซึ่งอาจเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาปรยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ

2.องค์ประกอบสำคัญของวิธิระบบได้เเก่อะไร

ตอบ 1.ปัจจัยนำเข้า (Input) คือ วัตถุสิ่งของต่างๆ  รวมถึงเหตุการณ์ สถานการณ์  วัตถุประสงค์

       2.กระบวนการ (Process) คือ วิธีการขั้นตอนปฏิบัติงาน  การสร้างสรรค์ การเเก้ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาเเละปัจจัยนำเข้าให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ หรือความต้องการ

      3.ผลลัพธ์ (Output) คือ ผลงานที่ได้จากกระบวนการจัดการวัตถุดิบหรือปัจัยนำเข้าผลงานที่ได้รับอาจเป็นวิธีการ หรือชิ้นงานก็ได้

3.ระบบสารสนเทศ หมายถึ อะไร

ตอบ ระบบสนเทศ (Infermation Syatem) คือ การประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอนเเละเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด เเละเป็นข้อสรุปที่นำไปใช้สนับสนุนการบริหาร  เเละการตัดสินใจ  ทั้งระดับปฏิบัติการ  ระดับกลาง เเละระดับสูง

 4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้เเก่ อะไร
ตอบ มี 2 ส่วน ได้เเก่ ระบบการคิด เเละระบบของเครื่องมือ
1.ระบบการคิด คือ กระบวนการขั้นตอนในการจัดลำดับ จำเเนก  เเจกเเจง  เเละจัดหมวดหมู่ ข้อมูลต่างๆ เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บเเละเผยเเพร่
2.ระบบเครื่องมือ คือ วัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการรวบรวม จัดเก็บ เเละเผยเเพร่สารสนเทศให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เเละเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการจัดการสารสเทศที่นิยมเเพร่หลาย หน่วยงาน  หรืองานธุรกรรมต่างๆ

5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย  ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปเเต่ละด้านประกอบไปด้วยอะไร

ตอบ มีจุดมุ่งหมายในการเเก้ปัญหา มี 4 ประการ
  1.ข้อมูลนำเข้า 2.กระบวนการ 3.ผลลัพธ์
6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร

ตอบ ขั้นที่1การวิเคราะห์ระบบ
      ขั้นที่2การสังเคราะห์ระบบ
      ขั้นที่3การสร้างแบบจำลอง

7.ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระดับกลุ่ม กับระดับองค์กรเเตกต่างกันอย่างไร

ตอบระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคลในหน้าที่รับผิดชอบ
ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายในการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
8.ข้อมูลเเละความรู้  คืออะไร  มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร

ตอบข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5ทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้
ความรู้ คือ สภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภายนอก
9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร

ตอบ1.ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
1.1 การรวบรวมข้อมูล
1.2การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล
1.3การจัดการข้อมูล
1.4การควบคุมข้อมูล
1.5การสร้างสารสนเทศ
2.วิธีการเก็บข้อมูล
2.1การสำรวจด้วยแบบสอบถาม
2.2การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
2.3การนับจำนวนหรือวัดขนาดของตนเอง

10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่เเละจำนวนเครื่องที่ใช้งานเเตกต่างกัน

ตอบมีอยู่2ประเภทด้วยกันคือ
1.สถานีงาน หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน ณ จุดที่จัดไว้ให้ผู้ใช้มาใช้ร่วมกันหรือจัดไว้ให้ผู้ใช้มาใช้ร่วมกัน
2.เครื่องบริการเป็นเครื่องขนาดใหญ่ที่ใช้ร่วมกันหลายคนเป็นเครื่องที่ใช้เก็บฐานข้อมูลหรือโปรแกรมสำเร็จประยุกต์