Assignment 2
การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System หรือไม่
ถ้าเป็นจงบอกองค์ประกอบของระบอบน้ำตาลทราย I P O อย่างน้อย 5 องค์ประกอบ มาโดยละเอียด
เป็น
1.Input
1.การปลูกอ้อย
วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดียววางช้อนกันครึ่งลำ หรือสองลำคู่ ตามลักษณะการเเตกกอพันธุ์อ้อยที่ใช้
2.การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100 ก.กไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง เมื่ออายุ 1 เดือนครึ่ง ครั้งที่สองเมื่ออ้อยอายุ 3-4 เดือน
3.การกำจัดวัชพืช
การดายหญ้าในช่วงตั้งเเต่ปลูกจนถึง 4 เดือน หรือใช้เครื่องจักรไถ่พรวนระหว่างร่องหลังปลูก เมื่อมีวัชพืชงอก
4.การเก็บเกี่ยวอ้อย
-การใช้เเรงงานคน ต้องตัดอ้อยให้ชิดดิน ไม่ควรเผาใบ หรือเศษพืชในไร่
-การใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยวเหมาะสำหรับเเปลงอ้อยขนาดใหญ่ โดยรถตัดอ้อยปัจจุบันมี 2 ชนิด
ตัดเป็นท่อน หรือตัดเป็นต้น
5.การนำอ้อยเข้าโรงงาน
การบรรทุกอ้อยที่ได้จากการเก็บเกี่ยวเข้าสู่โรงงานประมาณการรายได้และกำหนดราคาอ้อย และผลตอบแทนการผลิตที่ได้จากอ้อย
2.Process
1. กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction)
ช่วงนี้จะเป็นการสกัดเอาน้ำอ้อย ซึ่งเป็นส่วนของเหลวที่มีซูโครสละลายน้ำอยู่ โดยอาจจะมีการลดขนาดของอ้อยลงก่อนด้วยชุดใบมีด เพื่อที่จะได้บีบเอาน้ำออกมาได้มากขึ้น ในการสกัดน้ำอ้อย จะผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ หรือ Crusher ( 4 – 5 ชุด ) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิตและน้ำตาลทราย
2. การทำความสะอาดหรือทำใสน้ำอ้อย (Juice Purification)
น้ำอ้อยที่ผลิตได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่างๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เพื่อแยกสารแขวนลอยออกไป เช่น ผ่านเครื่องกรองต่างๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อนและผสมปูนขาว น้ำอ้อยบางส่วนที่นอนก้นในหม้อก็จะถูกรีดน้ำต่อไป จนได้สารละลายที่มีความเข้มข้นราวๆ 12-16% ก่อนการผ้อนเข้าสู่ระบบระเหยน้ำในขั้นตอนต่อไป
3. การระเหย (Evaporation)
น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporation) เพื่อระเหยเอาน้ำออก จนได้น้ำอ้อยที่มีความเข้มข้นประมาณ 65% อุณหภูมิของหม้อระเหยแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับค่าความดันภายในที่ทำการควบคุมไว้ ในที่สุดจะได้น้ำอ้อยเข้มข้นที่ออกมาจากเครื่องระเหย เรียกว่า Syrup
4. ขั้นตอนการตกผลึกครั้งที่หนึ่งการเคี่ยว (Crystallization)
Syrup ที่ได้จากการระเหยจะถูกป้อนเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อทำการตกผลึก ซึงการตกผลึกในขั้นตอนนี้อาศัยหลักการทำให้ตัวถูกละลาย ละลายได้น้อยลง เพราะตัวทำละลายคือน้ำเดือดภายใต้สภาวะสูญญากาศนั่นเอง แล้วในที่สุดทำให้ตัวถูกละลายคือผลึกซูโครสที่อยู่ในสภาพอิ่มตัวยิ่งยวด ที่จุดนี้ผลึกซูโครสจะเกิดขึ้นมาร่วมกับมาสสิคิวท์ (Massecuite)
5. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling)
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) แล้วเข้าระบบเป่าเพื่อไล่ความชื้นออก ในที่สุดเราจะได้ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลดิบ (Raw Sugar) ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ยังไม่ได้ผ่านการฟอกสี สามารถบรรจุขายได้ทันทีเหมือนกันครับ หรือนำไปฟอกสีออกในขั้นตอนต่อไป
ทัศนคติของผู้บริโภคทั่วไปนั้น น้ำตาลทรายที่ดี จะต้องมีผลึกใสไม่มีสี
3.Output
1.ได้น้ำตาลตามต้องการ
2.แพคใส่ถุง
3.การจำหน่าย
www.riclib.nrct.go.th/ebook/fruit/cane.pdf
คำตอบ
Input Process output
-โรงน้ำตาล -การสกัดน้ำอ้อย -น้ำตาลทารย
-เครื่องจักร -การทำความสะอาดน้ำอ้อย -กากน้ำตาล
-วัตถุดิบ -การต้มให้ได้น้ำเชื่อม
-แรงงานคน -การเคี่ยวให้เป็นผลึก และกาก
-เงินทุน -การปั่นเเยกผลิตน้ำตาล
- การอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น