วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Assignment 2

 

การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System หรือไม่

ถ้าเป็นจงบอกองค์ประกอบของระบอบน้ำตาลทราย I P O อย่างน้อย 5 องค์ประกอบ มาโดยละเอียด

 

เป็น

 

          

1.Input

1.การปลูกอ้อย

 วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดียววางช้อนกันครึ่งลำ หรือสองลำคู่ ตามลักษณะการเเตกกอพันธุ์อ้อยที่ใช้

2.การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100 ก.กไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง เมื่ออายุ 1 เดือนครึ่ง ครั้งที่สองเมื่ออ้อยอายุ   3-4 เดือน

3.การกำจัดวัชพืช

การดายหญ้าในช่วงตั้งเเต่ปลูกจนถึง 4 เดือน หรือใช้เครื่องจักรไถ่พรวนระหว่างร่องหลังปลูก เมื่อมีวัชพืชงอก

4.การเก็บเกี่ยวอ้อย

  -การใช้เเรงงานคน  ต้องตัดอ้อยให้ชิดดิน ไม่ควรเผาใบ หรือเศษพืชในไร่

  -การใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยวเหมาะสำหรับเเปลงอ้อยขนาดใหญ่ โดยรถตัดอ้อยปัจจุบันมี 2 ชนิด

    ตัดเป็นท่อน หรือตัดเป็นต้น

5.การนำอ้อยเข้าโรงงาน

การบรรทุกอ้อยที่ได้จากการเก็บเกี่ยวเข้าสู่โรงงานประมาณการรายได้และกำหนดราคาอ้อย และผลตอบแทนการผลิตที่ได้จากอ้อย

 

2.Process

1. กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction)

ช่วงนี้จะเป็นการสกัดเอาน้ำอ้อย ซึ่งเป็นส่วนของเหลวที่มีซูโครสละลายน้ำอยู่ โดยอาจจะมีการลดขนาดของอ้อยลงก่อนด้วยชุดใบมีด เพื่อที่จะได้บีบเอาน้ำออกมาได้มากขึ้น ในการสกัดน้ำอ้อย จะผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ หรือ Crusher ( 4 – 5 ชุด ) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิตและน้ำตาลทราย

2. การทำความสะอาดหรือทำใสน้ำอ้อย (Juice Purification)

น้ำอ้อยที่ผลิตได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่างๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เพื่อแยกสารแขวนลอยออกไป เช่น ผ่านเครื่องกรองต่างๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อนและผสมปูนขาว น้ำอ้อยบางส่วนที่นอนก้นในหม้อก็จะถูกรีดน้ำต่อไป จนได้สารละลายที่มีความเข้มข้นราวๆ 12-16% ก่อนการผ้อนเข้าสู่ระบบระเหยน้ำในขั้นตอนต่อไป

3. การระเหย (Evaporation)

น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporation) เพื่อระเหยเอาน้ำออก จนได้น้ำอ้อยที่มีความเข้มข้นประมาณ 65% อุณหภูมิของหม้อระเหยแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับค่าความดันภายในที่ทำการควบคุมไว้ ในที่สุดจะได้น้ำอ้อยเข้มข้นที่ออกมาจากเครื่องระเหย เรียกว่า Syrup

4. ขั้นตอนการตกผลึกครั้งที่หนึ่งการเคี่ยว (Crystallization)

Syrup ที่ได้จากการระเหยจะถูกป้อนเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อทำการตกผลึก ซึงการตกผลึกในขั้นตอนนี้อาศัยหลักการทำให้ตัวถูกละลาย ละลายได้น้อยลง เพราะตัวทำละลายคือน้ำเดือดภายใต้สภาวะสูญญากาศนั่นเอง แล้วในที่สุดทำให้ตัวถูกละลายคือผลึกซูโครสที่อยู่ในสภาพอิ่มตัวยิ่งยวด ที่จุดนี้ผลึกซูโครสจะเกิดขึ้นมาร่วมกับมาสสิคิวท์ (Massecuite)

5. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling)

แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) แล้วเข้าระบบเป่าเพื่อไล่ความชื้นออก ในที่สุดเราจะได้ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลดิบ (Raw Sugar) ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ยังไม่ได้ผ่านการฟอกสี สามารถบรรจุขายได้ทันทีเหมือนกันครับ หรือนำไปฟอกสีออกในขั้นตอนต่อไป

ทัศนคติของผู้บริโภคทั่วไปนั้น น้ำตาลทรายที่ดี จะต้องมีผลึกใสไม่มีสี

 

3.Output

1.ได้น้ำตาลตามต้องการ

2.แพคใส่ถุง

3.การจำหน่าย

 

 

      Retrieved from  http://yada-fairytale.blogspot.com/2011/01/blog-post_3507.html

 

      www.riclib.nrct.go.th/ebook/fruit/cane.pdf

คำตอบ

    Input                     Process                                           output

-โรงน้ำตาล          -การสกัดน้ำอ้อย                              -น้ำตาลทารย

-เครื่องจักร           -การทำความสะอาดน้ำอ้อย            -กากน้ำตาล

-วัตถุดิบ               -การต้มให้ได้น้ำเชื่อม  

-แรงงานคน         -การเคี่ยวให้เป็นผลึก  และกาก

-เงินทุน                -การปั่นเเยกผลิตน้ำตาล

                           - การอบ

 

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556


Assignment  1
คำถาม

1.smartphone คืออะไร   มีประโยชน์อย่างไรบ้าง       บอกมา  5  ประการ
  smartphone คืออะไร
        smartphone คือ โทรศัพท์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ ต่างๆได้ เสมือนยกเอาคุณสมบัติที่
PDA และคอมพิวเตอร์มาไว้ในโทรศัพท์ เช่น iOS (ที่ลงในมือถือรุ่น Iphone) ,BlackBerry OS, Android OS Windows phone 7 และ Symbian Os (Nokia) เป็นต้น ซึ่งทำให้ สมาร์ทโฟน สามารถลงโปแกรมเพิ่มเติม (Application) ได้ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโทรศัพท์ในยุคแรก ๆ มีความสามารถในการโทรออก และรับสาย โดยที่ตัวเครื่องไม่ต้องยึดติดด้วยสายก็ถือว่าเป็นโทรศัพท์ที่น่าใช้งานแล้ว ปัจจุบันเทคโนโลยีความทันสมัยเพิ่มมากขึ้นทำให้สามารถผลิตเครื่องโทรศัพท์ที่มีความเร็ว และความจุเทียบเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถนำระบบปฏิบัติการลงไปใส่ในเครื่องโทรศัพท์ได้ และเป็นที่มาของโทรศัพท์ที่เรียกติดปากกันว่า Smart Phone

       Smart Phone คือโทรศัพท์ที่มีความสามารถมากกว่าการโทรออกและรับสาย ด้วยความที่ Smart Phone มีระบบปฏิบัติการอยู่ภายใน ทำให้มันสามารถทำงานได้ในลักษณะเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อเราซื้อ Smart Phone สิ่งที่เราจะได้มาพร้อมกับเครื่องก็คือ ระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ เช่น Android, iOS, Windows mobile เวอร์ชั่นต่าง ๆ

      นอกจากนี้จะมีโปรแกรมต่าง ๆ ที่ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องโทรศัพท์จำนวนหนึ่ง โปรแกรมเหล่านี้มักถูกเรียกว่า "แอ็พ" โดยมีทั้งแบบที่สามารถ Download มาใช้งานได้ฟรี และแบบที่ต้องเสียสตางค์ซื้อ โดยสิ่งสำคัญที่ต้องมีคู่กับ Smart Phone ก็คือ Internet ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการหลายค่าย และมี Internet ความเร็วต่าง ๆ ให้ได้เลือกใช้งาน เช่น Wifi, EDGE/GPRS, 3G เป็นต้น หากคุณกำลังมองหาโทรศัพท์ตัวใหม่ แนะนำให้เลือกซื้อโทรศัพท์ที่เป็น Smart Phone แล้วคุณจะรู้ว่า การใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ง่ายขึ้นมาก
 
ประโยชน์ของ  smartphone
1.ทำตารางนัดหมาย/ contact / สมุดบันทึก โดย sync กับ account ต่างๆ
2. ติดต่อ email / facebook
3. หาข้อมูล / เช็คข่าวสาร / อ่าน webboard / ตรวจสอบสภาพอากาศ / เช็ครอบภาพยนตร์
4. ฟังเพลง / ดูคลิป / ดู TV แบบ online
5. แผนที่ / การนำทาง / สภาพการจราจร (อันนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ตัดสินใจใช้ smartphone)
     2.Android   คือะไร  ปกติ  จะพบสิ่งนี้ที่ไหน
       แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance[2] ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น
     แอนดรอยด์ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Alliance[3] กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง ที่ร่วมมือกันเพื่อพัฒนา มาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์มือถือ ลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์นี้จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรี
   โทรศัพท์เครื่องแรกที่สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้คือ เอชทีซี ดรีม ออกจำหน่ายเมื่อ 22 ตุลาคม 2551[4] เวอร์ชันล่าสุดของแอนดรอยด์คือ 4.2 (JellyBean) ความสามารถใหม่ของ แอนดรอยด์ 4.2 ที่เพิ่มขึ้นมาคือ Photo Sphere ที่สามารถถ่ายรูปได้ 360 องศา และ Keyboard Gestures ที่สามารถลากนิ้วแทนการสัมผัสตัวอักษรได้
 ปกติพบได้ที่ มือถือระบบ  Android
1)Iphome      2) Samsung  Galaxy       3) Smartphone
 
3. Cyber Bully  หมายถึงอะไร  อธิบายมา 1 ย่อหน้า ไม่ต่ำกว่า 10  บรรทัด
        Cyber bully หมายถึง การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์คือการประทุษร้าย หรือทำใหก้ผู้อื่นอับอายผ่านทางการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล์ การส่งข้อความ บล็อค เว็บไวต์ ชุมชนออนไลนื และดทรศัพทื ที่สิ่งนักเลงไซเบอร์ตั้งใจคือ การแสดงความเป็นศัตรูแสดงออกในแง่ลบต่ออีกฝ่ายหนึ่งนั่นเอง
       การรังแกกันของเด็กๆ ที่เรารับรู้กันมานานและยังคงพบเห็นอยู่ในสังคมปัจจุบันคือการรังแกกันด้านกายภาพหรือการทำร้ายกันตัวต่อตัว เช่น พี่ตัวโตรังแกน้องตัวเล็ก การชกต่อยระหว่างเด็กๆ ด้วยกัน โดยจะเป็นการทำร้ายที่มองเห็นได้ชัดเจนว่าใครเป็นผู้กระทำและใครตกเป็นเหยื่อแต่ปัจจุบัน เมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา ทำให้เกิดช่องทางของการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด เพื่อปลดปล่อยความรุนแรงรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า Cyberbullying (การรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์) ที่ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นผู้กระทำความรุนแรงได้ ไม่เว้นแม้แต่เด็กตัวเล็กๆ
      “Cyberbullying คือ การรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์ระหว่างเด็กกระทำต่อเด็กด้วยกัน โดยรูปแบบการรังแกกันมีทั้งการใส่ร้ายป้ายสี การใช้ถ้อยคำหยาบคายต่อว่าผู้อื่น หรือการส่งต่อข้อมูลลับเพื่อทำให้ผู้อื่นเสียหายผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือแม้แต่การส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยการรังแกกันจะต้องมีความต่อเนื่อง และทำให้ฝ่ายที่ถูกกระทำรู้สึกเจ็บปวดหรือได้รับผลกระทบทางจิตใจ
      Cyberbullying เป็นความรุนแรงที่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำ ซึ่งสามารถทำความรุนแรงกับใคร ที่ไหน หรือเมื่อไรก็ได้ และผู้กระทำก็สามารถจะตอกย้ำความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยที่สักวันหนึ่งเหยื่อที่เคยถูกกระทำ ก็อาจกลับมาเป็นผู้กระทำความรุนแรงเองเพื่อแก้แค้น เป็นวงจรความรุนแรงที่ไม่มีจุดจบ ด้วยเห็นว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาที่ใครๆ เขาก็ทำกัน ซึ่งผลกระทบก็คือความรุนแรงและบาดแผลที่เกาะกินในจิตใจของเด็กๆ
    Cyber bullying ที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน

งานสำรวจเด็กในกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่ามีเด็กถึง 48% ที่อยู่ในวงจร Cyber bullying โดยอาจเป็นทั้งผู้กระทำ เหยื่อ และผู้เฝ้าดูหรือส่งต่อข้อมูลไปยังกลุ่มอื่นๆ

ความรุนแรงของการทำร้ายกันผ่านโลกไซเบอร์ ที่พบเห็นในเมืองไทย มีมากมายหลายรูปแบบ อาทิเช่น เด็ก ที่เป็นเหยื่อต้องลาออกจากโรงเรียน อยู่ในภาวะเครียด นอนไม่หลับ และเป็นโรควิตกกังวล แต่ในประเทศญี่ปุ่น วงจรนี้รุนแรงถึงขั้นเด็กฆ่าตัวตายและฆ่าเพื่อนที่คิดว่าเป็นผู้กระทำ

โดยช่วงเวลาที่เด็กไทยมักอยู่ใน วงจร Cyber bullying คือช่วง 6 โมงเย็นถึง 3 ทุ่ม ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กใช้อินเตอร์เน็ตและทำการบ้าน แนวโน้มของการใช้ความรุนแรงลักษณะนี้ จะเกาะกินพฤติกรรมของลูกและจะมีเพิ่มมากขึ้น หากเด็กๆ ไม่ได้รับการดูแลจากพ่อแม่อย่างใกล้ชิด และขาดการแนะนำหรือช่วยกันเลือกใช้แต่ด้านที่มีประโยชน์ จากจอคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต



1.Retrieved from    http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0
 3. Retrieved from   http://www.healthygamer.net/information/article/98741